น้ำหนักลูกน้อย วัย 0-5 ปี ตามเกณฑ์มาตรฐานกรมอนามัย

น้ำหนักลูก

เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ทุกท่าน โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ป้ายแดง (เหมือนผู้เขียน) คงกังวลเกี่ยวกับลูกน้อยของเรา ไปซะทุกเรื่อง และหนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้น เรื่องน้ำหนักลูกน้อย ตอนแรกเกิด คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านคงได้รับคำแนะนำจากทางโรงพยาบาล ที่คุณแม่ทำการคลอดจะพูดถึง ภาวะเด็กตัวเหลือง  ซึ่งหนึ่งในวิธีที่จะทำให้ลูกน้อยหายจากอาการตัวเหลืองนอกเหนือจากการส่องไฟ คือการที่ลูกน้อยต้องกินนมแม่หรือนมผสมให้ถึงปริมาณหนึ่ง เพื่อให้ลูกน้อยขับถ่ายสารที่ทำให้ตัวเหลืองนั้นออกมาอุจจาระ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายคงได้ข้อมูลมาบ้างจากอันตรายของสารตัวเหลืองซึ่งหนึ่งในนั้นคือการส่งผลต่อพัฒนาการด้านสมอง

ยิ่งได้รับข้อมูลมาแบบนี้คงทำให้คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายคงวิตกไม่น้อย โดยเฉพาะบรรดาคุณพ่อคุณแม่มือใหม่รวมถึงตัวผู้เขียนเอง ถ้าเราจะมองในเรื่องของการขับสารตัวเหลืองออกมาให้มากที่สุดนั้น คงหนีไม่พ้นเรื่องการรับสารอาหารเข้าไปของลูกน้อย นั่นก็คือนมแม่หรือนมผสม ซึ่งส่งผลโดยตรงกับเรื่องนํ้าหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานนั่นเอง

สารบัญ

น้ำหนักลูกวัย 0-5 ปี เช็ดได้ง่ายๆ ตามเกณฑ์กรมอนามัย

ในสมุดชมพูหรือสมุดสุขภาพที่ได้รับตอนแรกเกิดมีกราฟน้ำหนักทารกเพื่อแสดงการเจริญเติบโตให้บรรดดาคุณพ่อคุณคุณแม่ทั้งหลายได้มีข้อมูลไว้ใช้อ้างอิงน้ำหนักลูกน้อยในแต่ละช่วงอายุเดือน ตั้งแต่ 0 ถึง 60 เดือน หรือ 5 ขวบปี เพื่อใช้ติดตามการเจริญเติบโตของลูกน้อยว่าได้น้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่

กราฟแสดงน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ เพศชาย เพศหญิง อายุ 0-5 ปี

น้ำหนัก เด็กผู้ชายตามเกณฑ์กรมอนามัย

น้ำหนัก เด็กผู้หญิง ตามเกณฑ์กรมอนามัย

 

จากกราฟเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ รวมถึงตัวผู้เขียนเอง ไม่ค่อยจะได้ดูน้ำหนักลูกจากกราฟการเจริญเติบโตในสมุดชมพูมากนัก ซึ่งหนึ่งในเหตุผลหลักๆ เลยคือ ดูยากและไม่สะดวกในการพกพานั่นเอง

องค์การอนามัยโลกหรือ WHO (World Health Organization) ได้แบ่งน้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตรฐานในการเจริญเติบโตในส่วนของน้ำหนักออกเป็น 5 ช่วงตามกราฟด้านล่าง (ในที่นี่จะแสดงเฉพาะน้ำหนัก)

กราฟแสดงระดับของเกณฑ์การประเมิณน้ำหนักเด็ก 0-5 ปี ของ องค์การอนามัยโลก (WHO)

กราฟนํ้าหนักทารกแรกเกิด-5ปี เด็กผู้ชาย

กราฟนํ้าหนักทารกแรกเกิด-5ปี เด็กผู้หญิง

ซึ่งทางประเทศไทยโดย สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สมุดชมพู) ได้ประยุกต์จากข้อมูลน้ำหนักลูกของ องค์การอนามัยโลก ให้เข้ากับกับคนไทย ซึ่งได้ระบุไว้ด้านล่างของกราฟว่า “ข้อมูล: ประยุกต์จากมาตรฐานการเจริญเติบโตขององค์การอนามัยโลก ปี ค.ศ. 2006”

โดยจะแบ่งออกมา 5 ช่วง ตามกราฟน้ำหนักทารกจากสมุดชมพู คือ

  1. น้ำหนักน้อย
  2. น้ำหนักค่อนข้างน้อย
  3. น้ำหนักตามเกณฑ์
  4. น้ำหนักค่อนข้างมาก
  5. น้ำหนักมาก

ผู้เขียนได้ใช้ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลมาตรฐานในการสร้างโปรแกรมช่วยประเมิณ น้ำหนักของลูกวัย 0-5 ปีนี้ออกมาเพื่อใช้งานเอง และด้วยเข้าใจปัญหาในฐานะเป็นคุณพ่อคนหนึ่ง จึงมองว่าอาจมีบรรดาคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายอาจประสบปัญหาที่คล้ายกันจึงได้จัดทำโปรแกรมนี้ลงบนเวปไซต์ เพื่อที่จะให้คุณพ่อคุณแม่ได้ใช้ประโยชน์จากโปรแกรมนี้ไม่มากก็น้อย ส่วนผู้เขียนเองนั้นใช้เป็นประจำ

วิธีการใช้งานโปรแกรมนี้มีดังนี้

  1. เลือกวันเดือนปีเกิด
  2. เลือกเพศ
  3. กรอกน้ำหนักลูก ณ ปัจจุบัน
  4. คลิ๊กปุ่ม “ตรวจสอบ”
  5. โปรแกรมจะแสดงผลออกมาดังนี้
    • เพศ
    • อายุ ปัจจุบัน (ปีและเดือน)
    • ผลการประเมิณ (น้ำหนักลูกน้อยที่คุณพ่อคุณแม่กรอกลงไปนั้น ว่าอยู่ในระดับใดตามเกณฑ์ ใดจาก 1 ใน 5 นั้น)
  6. สามารถ กลับไปใส่ข้อมูลเพื่อแก้ไขและเช็คข้อมูลอีกครั้ง โดย คลิ๊กปุ่ม “กรอกข้อมูลใหม่”
    โปรแกรมจะกลับไปหน้าให้กรอกข้อมูลเอง โดยไม่ต้องโหลดหน้าเวปไซต์

เพียงเท่านี้คุณพ่อคุณแม่ก็จะทราบว่าน้ำหนักปัจจุบันของลูกน้อยอยู่ในช่วงไหน และช่วยให้บรรดาคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายไม่ต้องเสียเวลาในการเปิดสมุดชมพูแล้วเพ่งไปยังกราฟนั้นๆ และเอาเวลาที่เหลือไปโฟกัสกับน้ำหนักตัวของลูกน้อยว่าจะต้องปรับปรุง ให้ปรับลด (ในรายน้ำหนักมากหรือค่อนข้างมาก) เพิ่ม(ในรายน้ำหนักน้อยหรือค่อนข้างน้อย) รักษาระดับเดิม(ในรายที่น้ำหนักตามเกณฑ์) ในการกินนมแม่หรือนมผสมต่อไป อีกทั้งยังสะดวกเพียงแค่มีมือถือและเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตก็สามารถเข้าไปทำการเช็คได้ในเวปไซต์

 

โปรแกรมเช็ดน้ำหนักลูกน้อย วัย 0-5 ปี
ว่าอยู่ช่วงไหนของเกณฑ์

สรุป

  • น้ำหนักลูกน้อยเป็นหนึ่งตัวชี้วัดการเจริญเติบโตว่าเหมาะสมตามวัยหรือไม่
  • การขับถ่ายของทารกมีผลกับอาการตัวเหลืองซึ่งจะสัมพันธ์กับการกินนม
  • องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ได้แบ่งเกณฑ์มาตรฐานในการเจริญเติบโตในส่วนของน้ำหนักออกเป็น 7 ระดับ
  • ประเทศไทย โดยสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้ประยุกต์จากมาตรฐานการเจริญเติบโตขององค์การอนามัยโลก ปี ค.ศ. 2006 ออกเป็น 6 ระดับ ซึ่งแสดงในสมุดชมพู
  • โปรแกรมช่วยเช็คถูกจัดทำโดยผู้เขียนซึ่งผู้เขียนต้องการเพิ่มความสะดวกลดความยุ่งยากในการอ่านกราฟในการติดตามน้ำหนักของลูกผู้เขียนเอง ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวอยู่ด้านล่างสุดของบทความนี้